ไม่มีคำว่าแพ้ หากเราได้เริ่ม ไม่มีคำว่าอยู่ที่เดิม หากเราได้ค้นหา ไม่มีคำว่าเป็นที่หนึ่ง หากเราต้องพึ่งพา ไม่มีคำว่าดีกว่า หากเราไม่ตั่งใจ

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การใช้งานอินเทอร์เน็ต


การใช้งานอินเทอร์เน็ต


1) การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) 
 เป็นระบบ การสื่อสาร ทางจดหมาย ผ่านคอมพิวเตอร์ ถ้าต้องการ ส่งข้อความ ถึงใครก็ สามารถ เขียนเป็น เอกสาร แล้วจ่าหน้าซอง ที่อยู่ของผู้รับ ที่เรียกว่า แอดเดรส ระบบจะนำส่ง ให้ทันที อย่างรวดเร็ว ลักษณะ ของแอดเดรส จะเป็นชื่อ รหัสผู้ใช้ และชื่อ เครื่องประกอบ กัน เช่น sombat@nontri.ku.ac.th การติดต่อบน อินเทอร์เน็ต นี้ ระบบจะหา ตำแหน่งให้เอง โดยอัตโนมัติ และนำส่ง ไปยังปลายทาง ได้อย่างถูกต้อง การรับส่ง ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ (email) กำลังเป็นที่ นิยมกัน อย่างแพร่หลาย

2) การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน
 เป็นระบบ ที่ทำให้ผู้ใช้ สามารถรับส่ง แฟ้มข้อมูล ระหว่างกัน หรือมีสถานี ให้บริการ เก็บแฟ้มข้อมูล ที่อยู่ในที่ต่างๆ และให้บริการ ผู้ใช้สามารถ เข้าไปคัดเลือก นำแฟ้มข้อมูล มาใช้ประโยชน์ได้

3) การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล
 การเชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ เข้ากับเครือข่าย ทำให้เรา สามารถเรียก เข้าหาเครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่เป็น สถานีบริการ ในที่ห่างไกล ได้ ถ้าสถานี บริการนั้น ยินยอม ให้เราใช้ ผู้ใช้สามารถ นำข้อมูล ไปประมวลผล ยังเครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในเครือข่าย โดยไม่ต้อง เดินทาง
4) การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร
 ปัจจุบัน มีฐานข้อมูล ข่าวสาร ที่เก็บ ไว้ให้ใช้งาน จำนวนมาก ฐานข้อมูล บาง แห่งเก็บ ข้อมูล ในรูปสิ่งพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้ใช้ สามารถเรียกอ่าน หรือนำมา พิมพ์ ลักษณะ การเรียกค้นนี้ จึงมีลักษณะ เหมือน เป็นห้องสมุด ขนาดใหญ่ อยู่ภายใน เครือข่าย ที่สามารถ ค้นหาข้อมูล ใดๆ ก็ได้ ฐานข้อมูล ในลักษณะ นี้เรียกว่า เครือข่าย ใยแมงมุม ครอบคลุม ทั่วโลก (World Wide Web : WWW) ซึ่งเป็น ฐานข้อมูล ที่เชื่อมโยง กันทั่วโลก

5) การอ่านจากกลุ่มข่าว
 ภายใน อินเทอร์เน็ต มีกลุ่มข่าว เป็นกลุ่มๆ แยกตาม ความสนใจ แต่ละกลุ่มข่าว อนุญาต ให้ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตส่ง ข้อความ ลงไปได้ และหากมีผู้ ต้องการ เขียนโต้ตอบ ก็สามารถเขียน ตอบได้ กลุ่มข่าวนี้ จึงแพร่หลาย กระจายข่าว ได้รวดเร็ว

6) การสนทนาบนเครือข่าย 
 เมื่อ เครือข่าย อินเทอร์เน็ต เชื่อมต่อ ถึงกันได้ ทั่วโลก ผู้ใช้จะสามารถ ใช้เครือข่าย อินเทอร์เน็ต เป็นตัวกลาง ในการติดต่อ สนทนากันได้ ในยุคแรก ใช้วิธีการ สนทนา กันด้วย ตัวหนังสือ เพื่อโต้ตอบกัน แบบทันที ทันใด บนจอภาพ ต่อมา มีผู้พัฒนา ให้ใช้เสียงได้ จนถึงปัจจุบัน ถ้าระบบสื่อสาร ข้อมูลมี ความเร็วพอ ก็สามารถ สนทนา โดยที่เห็นหน้ากัน และกัน บนจอภาพได้

7) การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย
 เป็นการประยุกต์ เพื่อให้เห็นว่า เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นได้ ปัจจุบัน มีผู้ตั้ง สถานีวิทยุ บนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต หลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถ เลือกสถานีที่ ต้องการ และได้ยินเสียง เหมือนการ เปิดฟังวิทยุ ขณะเดียวกัน ก็มีการ ส่งกระจายภาพ วิดีโอ บนเครือข่ายด้วย แต่ปัญหายังอยู่ ที่ความเร็ว ของเครือข่าย ที่ยังไม่สามารถ รองรับการ ส่งข้อมูล จำนวนมาก ทำให้คุณภาพ ของภาพวีดิโอ ยังไม่เห็นดี เท่าที่ควร 
 




พัฒนาการของ Internet



พัฒนาการของ Internet



   ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค..ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียดายหรือถูกทำลาย  กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อได้มาพัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด
การเริ่มต้นของเครือข่ายนี้ เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 (1969) จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่
    • มหาวิทยาลัยยูทาห์
    • มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา
    • มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส
    • สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียว

    พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อันเป็นก้าวสำคัญของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้ จากระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ในยุคนั้น ไม่สามารถตอบสนองการสื่อสารได้ บริษัทเบลล์ (Bell) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ ห้องทดลองที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยต่อมา คือ Bell's Lab ให้ทดลองสร้าง ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคต (ของคนในยุคนั้น) เดนนิส ริสซี และ เคเน็ต ทอมสัน ได้ออกแบบ และพัฒนาระบบที่มีชื่อว่า UNIX ขึ้น และแพร่หลายอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการแพร่หลายของระบบ Internet เนื่องจากความสามารถ ในการสื่อสารของ UNIX และมีการนำ TCP/IP มาเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการนี้ด้วย

   พ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาลัยศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Science Foundation - NSF) ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว   หลังจากนั้นก็มีเครือข่ายอื่นๆ เกิดขึ้นมาเช่น UUNET, UUCP, BitNet, CSNet เป็นต้น และต่อมาได้เชื่อมต่อกัน โดยมี NSFNet เป็นเครือข่ายหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเครือข่าย (Backbone)

   ในปี พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534

   ในปัจจุบัน Internet เป็นการต่อโยงทางตรรกะ (Logic) ของระบบคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ เครื่อง และโยงกับระบบ Wide Area Network (WAN) ต่างๆ เช่น MILNET, NSFNET, CSNET, BITNET หรือแม้แต่ เครือข่ายทางธุรกิจ เช่น IBMNET, Compuserve Net และอื่น ๆ ภายใต้โปรโตคอล ที่มีชื่อว่า TCP/IP โดยที่ขนาดของเครือข่าย ครอบคลุมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และมีการขยายขอบเขตออกไป อย่างไม่หยุดยั้ง 


   ระบบ Internet เป็นการนำเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการต่อเสมือนกับ ใยแมงมุม หรือ World Wide Webหรือเรียกย่อๆ ว่า WWW (มีการบัญญัติศัพท์ว่า เครือข่ายใยพิภพ) ในระบบนี้เราสามารถเปรียบเทียบ Internet ได้ สองลักษณะคือ ลักษณะทางกายภาพ และทางตรรกะ ในทางกายภาพ (Physical) นั้น Internet เป็นเครือข่ายที่รับอิทธิพลจาก เครือข่ายโทรศัพท์โดยตรง ในสหรัฐอเมริกา บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ Internet ก็เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ ทางโทรศัพท์ เช่น MCI, AT&T, BELL เป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่ง ที่เป็นความเด่นของระบบ คือลักษณะทางตรรกะ หรือ LOGICAL CONNECTION ที่เป็นเสมือนใยแมงมุม ครอบคลุมโลกไว้


ความหมายของอินเทอร์เน็ต



อินเทอร์เน็ต (Internet)    มาจากคำว่า Inter Connection Network

 ความหมายของอินเทอร์เน็ต

           อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ทั่วโลก โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูล ที่เป็นโปรโตคอล (Protocol) เดียวกัน โปรโตคอลที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรียกว่าทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทางตามความต้องการโดย ไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องทำการติดต่อไปตามเส้นทางโดยตรง แต่อาจจะผ่านจุดเชื่อมต่ออื่น ๆ หรือเลือกไปเส้นทางอื่นได้หลายเส้นทาง การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บางครั้งเรียกว่าการติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติหรือการติดต่อสื่อสารแบบไร้ขอบเขต (Cyberspace) ซึ่งรู้จักในนามของโลกไซเบอร์สเปรช
      

รูปที่ 1.1 การติดต่อสื่อสารบนระบบเครือข่ายทั่วโลก

Information Superhighway หรือทางด่วนข้อมูล เป็นโครงสร้างของระบบโทรคมนาคมพื้นฐาน (Infrastructure) ที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลดิจิตอลที่มีความเร็วสูง มีความเชื่อถือได้ และมีความปลอดภัย ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราหลาย ๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุระกรรม วรรณกรรม และอื่น ๆ ดังนี้

1.1.1 ด้านการศึกษา

           สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ เป็นต้น

1.1.2 ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
           ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ สามารถซื้อขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า การแจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น

1.1.3 ด้านการบันเทิง
           การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ และสามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และภาพยนตร์เก่ามาดูได้


การใช้งานแป้นพิมพ์ (Keyboard) เบื้องต้น




Keyboard - อุปกรณ์ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์

keyboard options
Keyboard หรือแป้นพิมพ์ในภาษาไทย เป็นอุปกรณ์มาตราฐานในการสั่งงานและป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์ คล้ายกับเครื่องพิมพ์ดีดทั่วไป เราสามารถแบ่งแยกปุ่มหลัก ในการทำงานได้ดังนี้ (อนึ่ง สำหรับผู้ที่ใช้เครื่องพิมพ์ดีดได้ ก็จะสามารถเรียนรู้การใช้คีย์บอร์ดได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น)
1.
ปุ่ม Escape
ปุ่มสำหรับยกเลิกคำสั่งที่กำลังทำอยู่ หรือใช้สำหรับออกจากโปรแกรมนั้น

2.
ปุ่ม Functions
ปุ่มที่ให้ความสะดวกในการเรียกใช้คำสั่งอื่น เช่น กดคีย์ F1 หมายถึงคำสั่ง Help เพื่ออ่านข้อมูลการใช้โปรแกรมนั้น
3.
ปุ่ม Print Screen
ปุ่มสำหรับพิมพ์หน้าจอที่เรากำลังใช้งานอยู่ สำหรับในระบบ Windows การ Print Screen จะไม่พิมพ์ข้อมูลทันที แต่จะเก็บไว้ใน ClipBoard เราสามารถเรียกข้อมูลนั้นได้ด้วยคำสั่ง Paste หรือใช้คำสั่ง Ctrl+V ในโปรแกรมใด ก็ได้
4.
ไฟแสดงสถานะปุ่ม
ไฟแสดงสถานะการใช้งานของปุ่ม Num Lock, Caps Lock Scroll Lock
5.
ปุ่ม Caps Lock และปุ่ม Shift
ปุ่มที่เหมือนกับปุ่ม ยกแคร่ในเครื่องพิมพ์ดีดทั่ว ไป ใช้สำหรับควบคุมพิมพ์ตัวอักษรเล็ก-ใหญ่หรือพิมพ์ตัวอักษรที่ด้านบน (คีย์บอร์ดหนึ่งปุ่มจะมีตัวอักษรทั้งด้านบนและล่าง) ปุ่ม Caps Lock กดครั้งเดียว (สังเกตุได้จากไฟ Caps Lock ที่ด้านบนขวามือ) ถ้าต้องการยกเลิกให้กดอีกครั้ง ส่วน ปุ่ม Shift เป็นการใช้คำสั่ง Caps Lock ชั่วคราว)
6.
ปุ่ม Ctrl และปุ่ม Alt
Ctrl มาจากคำว่า Control ส่วน Alt มาจากคำว่า Alternate เป็นปุ่มพิเศษที่ใช้ร่วมกับปุ่มอื่น เพื่อใช้ในการเรียกคำสังลัด เช่น Alt+F4 ใช้ในการปิดโปรแกรม
7.
ปุ่ม Spacebar
ปุ่มที่ใช้สำหรับเพิ่มช่องว่างระหว่างตัวอักษร
8.
ปุ่ม Backspace
ปุ่มนี้ใช้สำหรับลบตัวอักษร โดยจะลบจากขวามาด้านซ้ายมือ
9.
ปุ่ม Enter
ปกติจะใช้ปุ่มนี้เพื่อยืนยันการทำงานในคำสังนั้น แต่อาจหมายถึงขึ้นบรรทัดในกรณีใช้งานในเรื่องการพิมพ์จดหมาย
10.
ปุ่ม ตัวเลข
กรณีไฟที่ปุ่ม Num Lock ติด เราสามารถพิมพ์ตัวเลข จากตำแหน่งนี้ได้ แต่ถ้าดับ หมายถึง ให้ใช้ลูกศรแทน
11.
ปุ่ม ลูกศร
ปุ่มใช้สำหรับเลื่อน Cursor ไปซ้าย ขวา ล่าง บน


การใช้เมาส์ (Mouse)



การใช้เมาส์ (Mouse)



เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับควบคุมตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพให้ผู้ใช้สั่งงานโดยการกดปุ่มบนเกมส์ เช่น การเลือกเมนูคำสั่ง การย้ายข้อความ โดยทั่วไปเมาส์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน อาจมีปุ่มกด 2 ปุ่ม หรือมากกว่า แต่ที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะเป็นแบบ 2 ปุ่ม  คือ ปุ่มซ้ายและขวา โดยมีลักษณะการใช้งานดังต่อไปนี้ ...

คลิก (Click) เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปตำแหน่งที่ต้องการเลือก คลิกแล้วปล่อยที่ปุ่มด้านซ้ายของเมาส์ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการเลือกไอคอนหรือปุ่มคำสั่งหรือคลิกเลือกเมนูที่ต้องการ
คลิกขวา (Right-click)  เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปตำแหน่งที่ต้องการเลือก คลิกแล้วปล่อยที่ปุ่มด้านขวาของเมาส์ 1 ครั้ง มักเป็นการเลือกใช้เมนูลัด
ดับเบิลคลิก (Double-click)  เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปตำแหน่งที่ต้องการเลือก   คลิกแล้วปล่อยที่ปุ่มด้ายซ้ายของเมาส์ติดกันอย่างรวดเร็ว 2 ครั้ง





แดรก (Drag)  เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปตำแหน่งที่ต้องการเลือกกดที่ปุ่มด้านซ้ายของเมาส์ค้างไว้  พร้อมกับลากเมาส์ไปในทิศทางที่ต้องการ มักใช้ในการเคลื่อนย้ายวัตถุ หรือการสร้างขอบเขตของการเลือกวัตถุ

Mouse Pad คือ แผ่นรองเม้าส์ ช่วยทำให้การเคลื่อนไหวของเม้าส์ได้สะดวกยิ่งขึ้น
Wireless Mouse คือ เม้าส์ไร้สาย เป็นพัฒนาการของเม้าส์ เพื่อความสะดวกอีกอย่างหนึ่ง











ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์



ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ ลูกคิด” (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ

หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์

หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค

ยุคที่หนึ่ง (First Generation Computer) พ.ศ. 2489-2501

เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี

จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ

 ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1

ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน


ยุคที่สอง (Second Generation Computer) พ.ศ. 2502-2506

มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง



ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2

ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้


ยุคที่สาม (Third Generation Computer) พ.ศ. 2507-2512

คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า ไอซี” (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก

นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3

ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป

ยุคที่สี่ (Fourth Generation Computer) พ.ศ. 2513-2532

เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้

  ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4

ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)


ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน

ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้

โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล

องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่

1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)

คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
  
2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System)

คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น

3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System)

คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น

4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)



คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น